กินอย่างไร ห่างไกล ‘ไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ โดยไขมันในร่างกายส่วนใหญ่ หมายถึง โคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เป็นอันตรายต่อร่างกายและอาจร้ายแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

ไขมันในเลือดสูง เท่าไร? … อันตราย!!!

กินอย่างไร ห่างไกล ‘ไขมันในเลือดสูง

ผู้ป่วยภาวะไขมันในเลือดสูงจะไม่มีอาการ โดยการที่จะทราบว่าเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถรู้ได้จาก การเจาะเลือด โดยในการตรวจระดับไขมันในเลือด แพทย์จะให้ตรวจค่าต่างๆ ดังนี้

โคเลสเตอรอล (Cholesterol) ระดับปกติของโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งประกอบด้วย

โคเลสเตอรอลชนิดดี หรือ เอชดีแอล (High density lipoprotein -HDL) ระดับปกติในเลือดผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

โคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL) ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl)

กินอย่างไร ห่างไกลไขมันในเลือดสูง อาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ เช่น

 

กระเทียม เป็นอาหารลดไขมันชั้นเยี่ยม มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกาย ลดระดับไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดความดันโลหิต

พริกไทยดำ ลดการซึมผ่านของคอเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด และช่วยกระตุ้นการลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการช่วยเผาผลาญไขมันไปในตัว

อัลมอนด์ ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ LDL-Cholesterol และป้องกันไม่ให้ไขมันไม่ดี หรือไตรกลีเซอไรด์ถูกดูดซับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้

ถั่วเหลือง ในเมล็ดถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถหาทานได้ง่ายๆ เช่น เมนูน้ำเต้าหู้

ชา ควรเลือกดื่มชาขาว เพราะมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังเป็นอาหารลดไขมันชั้นดีอีกด้วย

อะโวคาโด อุดมไปด้วยไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีในร่างกาย และทำให้ไขมันชนิดที่ไม่ดีอย่างคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง

ภาวะไขมันเลือดสูง ป้องกันอย่างไร?

อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ด้วยการควบคุมการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยป้องกันการเกิดความเสี่ยงของการเกิดโรค อีกทั้งยังช่วยรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที หากคุณตรวจพบว่าอยู่ในภาวะไขมันในเลือดสูง

ข้อมูลจาก   https://www.sikarin.com/health/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5-%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1

 

ติดตามอ่านต่อได้ที่  tanishatours.com